ถึงแม้ว่า Internal Link และ External Link จะมีความคล้ายคลึงกันอยู่บ้าง แต่เมื่อถูกจัดวางในตำแหน่งที่มีความแตกต่างกันบนหน้าเว็บไซต์จะเป็นการส่งผลต่อประสิทธิภาพของหน้าเว็บไซค์ในการทำ SEO ที่แตกต่างกันทันที ดังนั้นจึงควรมีการทำความเข้าใจก่อนเริ่มใช้ โดยจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับความแตกต่างของตำแหน่ง ลิงก์ภายใน Internal Links และ ลิงก์ภายนอก External Links ทั้งสองสิ่งร่วมกันอย่างละเอียด และรวมไปถึงเรียนรู้เกี่ยวกับที่จะใช้ทั้งสองอย่างควบคู่ไปกับการทำ SEO
ความหมายและความสำคัญของ Internal Links
Internal Link คือ ลิงก์ที่อยู่ภายในเว็บไซต์ของเรา และเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่มีความสำคัญมากกับการทำ SEO โดยถ้าหากมีการวิเคราะห์ตำแหน่งของลิงค์ภายในบนหน้าเว็บ หรือรู้จักที่จะเลือกใช้ให้เหมาะสมที่สุด จะทำให้การใช้ Internal Link นั้นจะยิ่งส่งผลดีต่อการ SEO ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
สิ่งสำคัญของการใช้ Internal Links ในหน้าเว็บไซต์ คือ ลิงก์นี้สามารถสร้างขึ้นมาบนหน้าเว็บไซต์เพื่อให้สามารถย้ายไปอ่านเนื้อหาส่วนอื่น ๆ ภายในเว็บไซต์ได้ในทันทีเพียงเลือกคลิกเข้าไป โดยที่เนื้อหาในส่วนนั้นจะมียังความต่อเนื่องกันกับเนื้อหาที่เลือกคลิก ดังนั้นจึงจะทำให้ผู้ที่เข้ามาชมเว็บไซต์นั้นสะดวกในการใช้เว็บไซต์และเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น และอาจทำให้ผู้เข้าชมเลือกที่จะใช้เว็บไซต์นานมากขึ้น เพราะเหตุผลหลักนี้ที่จะส่งผลดีมากกับหน้าเว็บไซต์ที่มีการทำธุรกิจ SEO และทำให้แพลตฟอร์ม Google ได้มองเห็นถึงคุณภาพของเว็บไซต์นั้น ๆ มากขึ้น
หลักการในการสร้าง Internal Link ให้มีประสิทธิภาพกับเว็บไซต์ในการทำ SEO
- Internal link เป็นสิ่งที่ควรจะต้องมีในทุกหน้าเว็บ โดยเฉพาะหน้าเว็บของธุรกิจ SEO
ตามหลักการแล้วหน้าเว็บที่มีการใช้ Internal Link ในการจัดเรียงเนื้อหรือบทความ ผู้เข้าชมจะถือว่าหน้าเว็บนั้นมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะ On page SEO ที่ทุกหน้าเว็บยิ่งควรที่จะต้องมี Internal Link เพราะจะทำให้ Google Bot เข้าใจเนื้อหาบนเว็บไซต์นั้น ๆ ผ่านลิงก์ที่มีความเชื่อมโยงกันของเนื้อหาแต่ละหน้าอย่างชัดเจน
- ทำการออกแบบรูปแบบของลิงค์ หรือ Internal Link ให้เด่นชัดมากขึ้น
การที่จะทำให้ยอดผู้เข้าชมเว็บไซต์นั้นมีเพิ่มมากขึ้น เพื่อที่จะเป็นผลดีในการทำธุรกิจ SEO นั้นมีหลักการหลากหลายรูปแบบ แต่นอกจากการมีเนื้อหาที่ละเอียดและถูกต้องเพื่อความหน้าเชื่อถือของเว็บไซต์แล้ว สิ่งที่สำคัญไปกว่านั้นคือบนหน้าเว็บไซต์จะต้องมีความน่าสนใจ หรือมีสิ่งที่ผู้เข้ามาชมรู้สึกสะดุดตาหรือดึงดูดต่อการอยากอยู่ในหน้าเว็บไซต์ให้นานมากขึ้น การใส่ Internal Link จึงไม่ควรที่จะวางลิงก์ไว้เฉย ๆ แต่ควรเพิ่มความชัดเจนให้มากกว่านั้น
การทำลิงค์ Internal Link ให้มีความน่าสนใจมากขึ้น มีดังนี้
- ใส่สีสันที่ลิงก์ให้มีความเด่นชัดและเพื่อให้มีสีที่ตัดหรือแตกต่างไปจากเนื้อหา
- ใส่ Hover ที่ตัวอักษร ซึ่งวิธีเป็นการที่เมื่อมีการเมาส์มาที่ลิงก์ แล้วจะทำให้ลิงก์มีการเปลี่ยนสีต่างจากเดิม หรืออาจมีการขีดเส้นใต้ที่ตัวอักษร
- การเรียบเรียงเขียนคำเกริ่นนำเพื่อเพิ่มโอกาสในการกดเข้าลิงก์
เป็นการเขียนคำเกริ่นนำก่อนที่จะวาง Internal link หรือเป็นเพียงการใส่แค่ลิงก์ให้ผ่านเกณฑ์ On Page ที่มีการกำหนกไว้ ดังนั้น ดังนั้นในกรณีที่ทำตัวอักษรใส่ในลิงก์อย่างเดียวไม่ได้ จึงจำเป็นที่จะต้องเขียนคำเกริ่นนำให้ดึงดูดแก่ผู้เข้าชมเว็บไซต์ - การใช้ Internal link จำเป็นที่จะต้องทำ link ในรูปแบบ Same window เป็นหลัก แต่การทำ External link ให้ทำลิงค์แบบ Open Link New Tab เสมอ เพราะเมื่อมีการกดเข้าไปยังลิงก์ต่าง ๆ บนเว็บไซต์ มักจะมี Action การเปิดหน้าเว็บไซต์อยู่สองรูปแบบ คือ เปิดหน้าเว็บใหม่แบบ Same Window และแบบ Open Link New Tab
- เน้นทำ link ประเภท Exact-match กับ Partial-match เป็นหลักในการทำ Internal link ให้คุณเน้นไปที่การทำ Link แบบ Exact-match กับ Partial-match เป็นหลัก แต่ให้กระจายคำด้วย ไม่ใช่ว่าทุกบทความคุณจะใช้แต่ Exact-match ลิงค์อย่างเดียวไม่ได้
- การเขียน Link text โดยการนำคำที่มีความเกี่ยวข้องของ keyword มาใช้ในกรณีที่ไม่สามารคิดคำในรูปแบบ Partial match ได้ จึงมีหลักวิธีการคือสามารถเลือกนำให้เอาคำที่เกี่ยวข้องของ Keyword หลักนั้น ๆ มาเขียนเป็น Partial match Link ได้ด้วยเช่นกัน
- อย่าลืมทำ internal link ที่เป็นชื่อแบรนด์
ในกรณีที่ชื่อของธุรกิจเป็นชื่อที่มีคนใช้ชื่อนี้ซ้ำเป็นจำนวนมากและเป็นเหตุที่ชื่อเว็บไซต์อาจจะต้องใช้ และที่สำคัญอาจจำเป็นที่จะต้องใช้ในการทำแบรนด์ SEO ด้วย ดังนั้นหน้าบทความเว็บไซต์คุณจึงไม่ควรที่จะลืมวาง Internal Link เพื่อใช้ดันชื่อแบรนด์ ยกตัวอย่างเช่น หากทำแบรนด์ SEO ที่หน้า Home ก็ต้องมีการวางลิงก์ที่จะส่งไปยังหน้า Home ด้วยเช่นกัน
- สามารถที่จะวางหลายลิงค์ได้ภายในหนึ่งหน้าเว็บเพจ แต่ต้องคำนึงถึงความเหมาะสม
ถึงแม้ว่าในหนึ่งหน้าเว็บเพจจะสามารถวาง ลิงค์เยอะหรือน้อย นั่นก็ไม่สำคัญถ้าหากไม่สามารถดึงดูดผู้เข้าชมให้อยากคลิกเข้าไปได้ ดังนั้น การวางลิงก์ให้เหมาะสมและเรียบร้อยจึงเป็นสิ่งที่สำคัญกว่ามาก - การวางตำแหน่งของ Internal Link เพื่อให้หน้าเว็บมีประสิทธิภาพ
ตำแหน่ง Internal Link หรือลิงก์ภายที่จะถูกวางอยู่บนหน้าเว็บไซต์ และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเว็บไซต์ หรือการเพิ่มยอดผู้เข้าชมเว็บไซต์มากขึ้น จึงความรู้จักตำแหน่งแต่ละตำแหน่ง ว่าในตำแหน่งไหนที่มีความเหมาะสมต่อการวาง Internal Link มากที่สุด
วิธีการใช้ตำแหน่งแต่ละตำแหน่งของ Internal Link อย่างเหมาะสม มีดังนี้
- ตำแหน่ง In-content Link
ลิงก์ในตำแหน่งของเนื้อหา มีส่วนสำคัญมากว่าลิงก์ภายในของตำแหน่งอื่น ๆ อย่างแน่นอน เนื่องจากสามารถเชื่อมโยงลิงก์หน้าเว็บไซต์ตำแหน่งนี้ไปยังหน้าอื่น ๆได้ โดยที่จะยังคงเนื้อหาให้มีความเกี่ยวข้องกันอยู่ ภายในเว็บไซต์ และเมื่อ Robot ทำการ Crawler เว็บไซต์ แล้วจะพบเห็นเลยว่าเว็บไซต์มีความน่าเชื่อถือในเรื่องของเนื้อหาเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกันในเรื่องนั้น ๆ - ตำแหน่ง Navigation Link
ลิงก์ในตำแหน่งนี้ หรือ Navigation เป็นเหมือนระบบนำทางภายในเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์สามารถเลือกใช้สำหรับการนำทางไปยังในจุดสนใจบนเว็บไซต์ได้อย่างสะดวก และสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว หรือเพื่อเป็นทางลัดที่มีประโยชน์ในการเชื่อมโยงไปยังหน้าที่มีความเกี่ยวข้องกันเพื่อปรับแต่งให้เหมาะสมกับการ Crawler ของ Robot อีกด้วย แต่ทั้งนี้แล้วก็ยังคงต้องคำนึงถึงคือ ผู้ใช้งานทั่วไปด้วย หรือที่เรียกว่า User-friendly ด้วนเช่นกัน
- ตำแหน่ง Footer Link
ลิงก์ในส่วนของตำแหน่งของ Footer อาจไม่ค่อยเข้ามามีบทบาทในส่วนของการทำ SEO มากนัก แต่ในกรณีของบุคคลผู้ใช้งานทั่วไปถือว่ายังมีความสำคัญมาก เพราะเป็นเหมือนการที่เข้าชมมีความต้องการหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเว็บไซต์ของคุณ เช่น Term & Conditions, Privacy เป็นต้นและเมื่อสังเกตให้ชัดแล้วจะพบว่ามีความคล้ายคลึงกับ ลิงก์ในตำแหน่ง Navigation Links แต่ต่างกันที่ Footer Link จะดูมีระเบียบมากกว่า
ข้อควรระวังในการวางลิงก์ในตำแหน่ง Footer Link
อย่างแรกเลย แน่นอนเลยที่ควรใส่ลิงค์ลงไปยังตำแหน่ง Footer ด้วย แต่ก็ต้องระมัดระวังอย่าใส่ลิงค์เยอะจนเกินไป เพราะถ้าใส่ลิงค์มากจนเกินไปอาจทำให้เกิดความสับสนแก่ผู้เข้าชมหน้าเว็บไซต์ หรืออาจทำให้กดไม่ถูกคำ keyword กับเป้าหมายที่อยากให้ติดหน้าแรกมากที่สุด
- ตำแหน่ง Redirect Link
ลิงก์ภายในตำแหน่งนี้คือการที่แพลตฟอร์ม Google ได้ทำการโอนค่าของ PA และ Backlinks ผ่านทางลิงก์ที่มีการปรับเปลี่ยนเส้นทาง โดยจะมีการแจ้งให้ Google ทราบว่ามีการย้ายเนื้อหาจากหน้านี้ไปยังหน้าอื่น และทาง Google จะถ่ายโอนค่าทั้งหมดข้างต้นที่เคยมีอยู่ไปยังหน้านั้น ๆ
ข้อควรระวังในการวางลิงก์ในตำแหน่ง Redirect Links
การใช้ Redirect Links หลายระดับ จะไม่เป็นผลดีต่อหน้าเว็บ ในบางครั้ง Robot จะไม่ Crawler ตามลิงก์เหล่านั้นไป หรือการทำ Redirect Links ในปริมาณมากเกินไป ก็ไม่เป็นผลดีสำหรับตัวเว็บไซต์เช่นกัน - ตำแหน่ง Canonical Link
การใช้ Canonical Links เป็นการทำหน้าที่อ้างอิง URL ไปยังหน้าเว็บที่มีเนื้อหาหลักกัน และทำการโอนย้ายค่า PA ไปยังหน้านั้น ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาที่ซ้ำ ยกตัวอย่างเช่นในกรณีที่ในบางหน้าเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเหมือนหรือเกือบคล้ายกันมาก อาจส่งผลให้ทาง Google เองเกิดการสับสนในการจัดอันดับหน้าเว็บให้กับเว็บไซต์ได้
ความหมายและความสำคัญของ External Link
External Link คือ ลิงก์จากภายนอก ที่เป็นตัวเชื่อมให้เข้ามายังหน้าเว็บไซต์ จึงเหมาะอย่างมากที่จะใช้ร่วมกับเว็บไซต์ที่มีการทำธุรกิจในรูปแบบ SEO และนอกจากนี้ที่สังเกตได้ชัดเลยคือ External Link เป็นลิงก์ที่เหมาะสำหรับใส่ไว้ในส่วนตอนท้ายสุด ยกตัวอย่างเช่น วางไว้ท้ายสุดหลังจบบทความ ในที่นี้ก็เพื่อที่จะให้เชื่อมไปยังเว็บต่อไปที่มีเนื้อหาที่มีความสอดคล้องหรือเกี่ยวข้องกัน และหากเมื่อต้องสร้างลิงก์ไปยังเว็บไซต์อื่น ๆ อาจจะสร้างลิงก์ในรูปแบบของข้อความ พร้อมกับตั้งค่าให้เปิดเว็บไซต์นั้น ๆ ในหน้าต่างใหม่ และเพื่อไม่ให้ผู้เข้าชมเข้าใจผิดว่าเป็นเว็บไซต์เดียวกันจึงควรที่จะมีการใส่ลิงก์เว็บนั้น ๆ ให้ถูกต้องเข้าไปด้วยโดยลิงก์นั้น ๆ ต้องสามารถกดเข้าไปยังหน้าเว็บไซต์ได้จริง
หลักการในการสร้าง External Link ให้มีประสิทธิภาพกับเว็บไซต์ในการทำ SEO
1. ทุกหน้าเว็บต้องมี External link โดยเฉพาะเว็บไซต์สำหรับ SEO
ตารมหลักการทุกหน้าเว็บไซต์จำเป็นอย่างมากที่จะต้องมี External link เพราะโดยปกติแล้วแพลตฟอร์ม Google Bot จะสามารถประมวลผลทำความเข้าใจเนื้อหาบนเว็บไซต์นั้น ๆ ได้ก็ต่อเมื่อมีการใช้ External Link ผ่านลิงค์ที่เชื่อมกันไปมาระหว่างเว็บไซต์ ซึ่งเป็นไปตามหลักการ On page SEO
2. การทำให้ External link เชื่อมออกไปยังเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือ
การทำลิงค์ส่งออกไปจำนวนที่ค่อนข้างมากสิ่งนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ทำได้ตรงเป้าและถูกจุดโดยเฉพาะการทำ SEO เพราะถือว่าเป็นการตอบโจทย์ ความต้องการของแพลตฟอร์ม Google เพราะเป็นการทำให้ผู้ที่ต้องการเข้าชมเว็บไซต์เข้าถึงในสิ่งที่อยากต้องการอยากรู้มากขึ้น ดังนั้น Google จะพอใจอย่างมากหากมีการแบ่งปันเว็บไซต์ที่ค่อนข้างเยอะ
3. เนื้อหาของ Link text และเว็บไซต์ที่ส่งออกไปนั้นจะต้องมีความสอดคล้องกันเสมอ
ตามหลักการที่ถูกต้องอย่างแน่นอนแล้วในส่วนของเนื้อหาของหน้าเว็บไซต์ที่กดออกไปจากเว็บนั้นจะต้องเนื้อหาที่สอดคล้องและเกี่ยวข้องกับ text link ที่กำหนดไว้ด้วยเช่นกัน
4. การทำให้ External link ออกไปยังเว็บที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเว็บของคุณ
การทำ External Link ที่ได้ผลดีที่สุด ควรส่งลิงค์ออกไปยังเว็บที่มีเนื้อหา เกี่ยวข้องกับเว็บของเราด้วย อาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องทางตรง แต่อาจจะเกี่ยวข้องทางอ้อมก็ได้
5. การออกแบบรูปแบบของลิงค์ หรือ External Link ให้เด่นชัดมากขึ้น
ในหลักการนี้ของ External Link นั้น ไม่ได้มีความแตกต่างจากในหลักการของ Internal link เลย นั่นคือ การทำให้ทุกลิงค์มีความโดดเด่นออกมาให้มากที่สุด ดูแล้วมีความน่าสนใจ และก็เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสในการคลิกเข้าไปโดยผู้เข้าชมนั่นเอง
6. การเรียบเรียงเขียนคำเกริ่นนำเพื่อเพิ่มโอกาสในการกดเข้าลิงก์
ในหลักการข้อนี้ก็มีความคล้ายคลึงกันกับในส่วนของหลักการ Internal Link เช่นเดิมว่าเป็นการเรียบเรียงการเกริ่นนำในการกดเข้าลิงก์ โดยหลัก ๆ แล้วจะต้องให้มีความน่าสนใจ และดึงดูดผู้เข้าชม และแน่นอนว่าหลักการนี้เป็นหลักการที่ดีกว่าการที่จะใส่ลิงก์เพียงอย่างเดียว
7. Nofollow Link เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องทำใน External Link
โดยตามปกติแล้วในการทำ External link สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบหลัก ๆ นั่นคือทำในรูปแบบ Dofollow และ รูปแบบ Nofollow Link
DoFollow
หมายถึง การให้ Robot ของ Search Engine ไล่ตามลิงค์นี้ไปยังเว็บเป้าหมาย
NoFollow
หมายถึง การไม่ให้ Robot ของ Search Engine ไล่ตามลิงค์นี้ไปยังเว็บเป้าหมาย แต่ในปัจจุบันในการทำ SEO นั้นไม่จำเป็นที่จะต้อง กังวลว่าจะต้องทำ External Link ทั้งสองรูปแบบ ให้ยุ่งยาก เนื่องจาก Google ไม่ได้ให้ความสำคัญกับจุดนี้เหมือนที่ผ่านมาแล้ว ดังนั้นเว็บไซต์จึงสามารถลิงก์ให้เป็นประเภท Dofollow ทั้งหมดได้
หมายถึง การให้ Robot ของ Search Engine ไล่ตามลิงค์นี้ไปยังเว็บเป้าหมาย
8. การวาง External link จะต้องทำ Open new tab อยู่เสมอ
ในหลักการนี้คือการที่ทำให้ทุกลิงค์ที่เป็นประเภท External link จะต้องทำเป็นในรูปแบบ Open new tab อยู่ เสมอ ซึ่งถือว่าเป็นหลักการที่ตรงกันข้ามกับหลักการของ Internal Link อย่างสิ้นเชิง
9. การทำสามารถที่จะวางหลายลิงค์ได้ภายในหนึ่งหน้าเว็บเพจ แต่ต้องคำนึงถึงความเหมาะสม
หลักการข้อนี้เป็นอีกหลักการที่เหมือนกับหลักการของ Internal Link คือ การที่จำนวนในการวางลิงก์นั้นไม่ได้มีผลอะไรถ้าไม่มีการคลิกเข้าจากผู้เข้าชมเว็บไซต์ ดังนั้น จึงควรคำนึงถึงความเหมาะสมมากกว่า เพื่อความสวยงามและเป็นระเบียบของหน้าเว็บไซต์
10. การวางลิงก์แบบ Naked Link ตรง ๆ ทื่อ ๆ เมื่อแสดงผลบนเครื่องมือสื่อสารจะผิดเพี้ยนได้
การวางลิงก์แบบ Naked Link คือการวางลิงค์ เป็นเส้น URL ของหน้าเว็บตรง ๆ เลย เช่น การวาง URL แบบที่ติดอักษร HTTPS:/ มาด้วย จะส่งผลให้เมื่อแสดงผลบนโทรศัพท์นั้นไม่ตรงและผิดไปจากเดิมเพราะจะไม่มีการตัดคำถ้า URL นั้นยาวเกินไปมันจะล้นหน้าจอโทรศัพท์ ทำให้ดูไม่เรียบร้อย
วิธีการใช้ตำแหน่งแต่ละตำแหน่งของ External Link อย่างเหมาะสม มีดังนี้
- ตำแหน่ง In-content Link
หากต้องเลือกตำแหน่งการทำลิงก์ให้มีการเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์อื่น ๆ และเพื่อให้เชื่อมมายังเว็บไซต์ของเราในหน้าเนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้องกัน การทำลิงก์จากตำแหน่ง In-content Link จะทำให้ได้รับคะแนนทางเอสอีโอสูงกว่าตำแหน่งอื่น ๆ
- ตำแหน่ง Navigation Link
แม้ว่าลิงก์ในตำแหน่งนี้จะให้คะแนนทางเอสอีโอ ที่น้อยกว่า In-content Links แต่มันก็เป็นประโยชน์เช่นกัน หากคุณได้รับลิงก์ในตำแหน่งนี้มาจากเว็บไซต์อื่น ๆ ที่มีคะแนนทางเอสอีโอ ที่ยอดเยี่ยม มันอาจจะช่วยให้ Traffic ถูกส่งมายังเว็บไซต์ของคุณมากยิ่งขึ้น และยังคงได้ Backlinks อีกด้วยแต่ก็อาจจะไม่เป็นผลดีกับธุรกิจ ของเว็บไซต์รายนั้น ๆ เนื่องจากอาจทำให้ผู้ใช้งานทั่วไปสับสนกับบริการหรือผลิตภัณฑ์ของพวกเขา แนะนำให้ทำเป็น Footer Links จะทให้ดูมีระเบียบมากกว่า
- ตำแหน่ง Footer Link
ลิงก์ในตำแหน่งนี้เป็นการถูกแยกออกจากส่วนของลิงก์บริการสำคัญ ๆ ของเว็บไซต์ต้นทางอย่างชัดเจนซึ่งในตำแหน่งนี้นั้นมีความคล้ายกันกับ Navigation Links แต่จะดูมีระเบียบเรียบร้อยมากกว่า
- ตำแหน่ง Redirect Link
ในตำแหน่งนี้จะเป็นการที่ Google จะทำการโอนย้ายค่าของ DA, PA และ Backlinks ไปยังโดเมน หรือทำการย้ายโดเมนเก่าไปยังโดเมนใหม่ Redirect Links ก็จะถูกนำมาใช้งานเพื่อแจ้งให้ Google ทราบและทำการถ่ายโอนค่าต่าง ๆ
- ตำแหน่ง Canonical Link
ในกรณีของ Canonical Links ที่ถูกใช้ข้ามโดเมน ถือว่าเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพจที่สามารถช่วยแจ้งไปยัง Google ให้ทราบถึงเนื้อหาว่ายังคงเป็นเนื้อหาหลัก และทำการพิจารณาให้ ถึงแม้เนื้อหาจะถูก Copy หรือถูกนำไปเรียบเรียงใหม่โดยเว็บไซต์อื่น ๆ ก็ตาม
สรุปความสำคัญของ Internal Link และ External Link ในการทำ SEO
Internal Link และ External Link การใส่ลิงก์ทั้งสอบวิธีการอาจจะมีความสำคัญหรือหลักการรูปแบบที่คล้ายคลึงกันค่อนข้างหลายอย่าง แต่ถ้าหากเมื่อถูกจัดวางในตำแหน่งที่แตกต่างกันออกไปแล้ว การใช้งานหรือผลที่ได้กลับมาจะแตกต่างกันทันที
นอกจากนี้ที่จะเห็นได้ชัดเจนมากที่สุดถึงความเหมือนกัน นั่นคือความสำคัญของ Internal Link และ External Link
ในการทำ SEO โดยทั้งสองวิธีการมีความสำคัญมากไม่ต่างกันเลย ซึ่งเนื่องจากไม่ว่าจะเป็นวิธีการในรูปแบบไหนก็ตามต่างก็ส่งผลไปถึงหน้าเว็บไซต์นั้น ๆ ที่มีการทำ SEO ทั้งหมด เพราะทั้ง Internal Link และ External Link เป็นถือว่าอีกวิธีการที่จะสามารถเพิ่มยอดผู้เข้าชมให้ทางเว็บไซต์ได้ไม่ต่างกับเครื่องมือหรือวิธีการอื่น ๆ เช่นกัน
และเมื่อเว็บไซต์ได้ถูกพิจารณาจาก Google แล้ว ก็จะถูกมองว่าเป็นเว็บไซต์ที่มีคุณภาพและความน่าเชื่อถือในทันที จึงเป็นผลดีในการลงมือทำ Internal Link และ External Link ร่วมไปกับการทำ SEO