หลักการออกแบบ Site Structure ของเว็บไซต์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจหลัก SEO มากขึ้น

Picture of THAITOPSEO
THAITOPSEO
หลักการออกแบบ Site Structure

สำหรับการทำ SEO แต่ละครั้ง สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญและไม่ควรถูกมองข้ามอันดับแรกคือ การออกแบบ Site Structure หรือ การออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ ซึ่งเปรียบเสมือนการเขียนแผนผังโครงสร้างสำหรับการทำวิทยานิพนธ์ ที่มีส่วนช่วยให้การทำ SEO ของคุณบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มโอกาสให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับการค้นหาใน google มากขึ้น ถ้าพร้อมแล้วเราไปทำความรู้จัก SiteStructure ในการทำ SEO กันเลย

Site Structure คืออะไร?

Site  structure หรือ โครงสร้างเว็บไซต์ คือการเขียนแผนผังโครงสร้างเว็บไซต์โดยการเรียงลำดับข้อมูล เปรียบเสมอการเขียนโครงสร้างวิทยานิพนธ์ เพื่อให้ข้อมูลใน Site เชื่อมโยงเข้าหากันมากขึ้น ส่งผลให้ Google Bot สามารถเก็บข้อมูลรวมถึงจดจำข้อมูลใน Site ได้ง่ายขึ้น เพิ่มโอกาสให้เว็บไซต์ของคุณถูก Search Engine ใน google เชื่อมถึงกลุ่มเป้าหมายที่วางเอาไว้ได้

การออกแบบ Site Structure มีกี่แบบ ?

การออกแบบโดยปกติแล้วจะมีทั้งหมด 5 โครงสร้าง ซึ่งมีทั้งโครงสร้างที่ทำได้โดยง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ไปจนถึง โครงสร้างที่ทำได้ยาก เพราะต้องอาศัยการวางแผนที่รอบคอบและรัดกุม ประกอบไปด้วย

1.โครงสร้าง Site แบบต้นไม้ (Hierarchical)

เป็นโครงสร้าง Site ที่นิยมมากที่สุด เพราะเป็นผังโครงสร้างมีลักษณะเข้าใจง่าย คล้ายโครงสร้างวิทยานิพนธ์ เหมาะกับการทำเว็บไซต์ที่มีข้อมูลกะทัดรัดเป็นหลัก

Hierarchical

ตัวอย่างการทำโครงสร้าง Site แบบต้นไม้ ซึ่งเป็นผังโครงสร้างที่เข้าใจง่าย ทำให้ Google bot สามารถมองเห็นภาพรวมข้อมูลได้อย่างชัดเจน เหมาะสำหรับผู้เขียนเว็บไซต์ มือใหม่

2.โครงสร้าง Site แบบเส้นตรง (Linear)

คือการเรียงข้อมูล SEO ตามลำดับ จาก 1 ไป 2 ไป 3 อย่างเป็นระบบ ซึ่งโครงสร้าง Site รูปแบบนี้ เหมาะกับเนื้อหาที่เน้นสร้างความเข้าใจกับผู้มาเยี่ยมชมเป็นทีละบท หรือ เป็นขั้นเป็นตอน เช่น เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมตัวไปเรียนต่อ, เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการทำอาหาร, เนื้อหาที่สอนขั้นตอนการลงทุน เป็นต้น

Linear site structure

ตัวอย่างการเขียนโครงสร้าง Site แบบเส้นตรง ซึ่งเป็นผังโครงสร้างที่เรียงลำดับอย่างเป็นระบบทำให้ Google bot ทำความเข้าใจได้ง่าย

3.โครงสร้าง Site แบบเชื่อมโยงอิสระ (Webbed)

เป็นโครงสร้างSite ที่ทำยากที่สุด เพราะเป็น Site ที่เชื่อมโยงหน้าหลักกับหน้าย่อยเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้ผู้เยี่ยมชมเข้าถึงเนื้อหาด้วยการคลิกให้น้อยที่สุด และ ประหยัดเวลาในการเข้าถึงข้อมูลมากที่สุด ซึ่งการทำ Site แบบเชื่อมโยงอิสระเหมาะกับการทำเว็บไซต์ E-Commerce เป็นหลัก

Webbed

ตัวอย่างการเขียนโครงสร้าง Site แบบเชื่อมโยงอิสระ ซึ่งเป็นการเขียนโครงสร้างที่ต้องอาศัยการวางแผนงานด้วยความรอบคอบและรัดกุม หากขาดการวางแผนที่รัดกุมส่งผลให้ Google bot ไม่เข้าใจเนื้อหาในไซต์ และส่งผลให้ เว็บไซต์ ของคุณไม่ได้ติดอันดับการค้นหาใน Google

4. โครงสร้าง Site แบบฐานข้อมูล (Database)

เป็นโครงสร้าง Site ที่จัดข้อมูลเป็นหมวดหมู่ คล้ายกับการเก็บเอกสารลงแฟ้มเวชระเบียนของโรงพยาบาล ซึ่งข้อดีของการเขียนโครงสร้าง Site แบบฐานข้อมูลคือ ผู้มาเยี่ยมชมสามารถดึงข้อมูลที่ต้องการจากฐานข้อมูลในระบบได้ ซึ่งง่ายต่อการค้นคว้า เหมาะสำหรับการทำ SEO เนื้อหาเกี่ยวกับหมวดหมู่ เช่น หมวดหมู่หนังสือแต่ละประเภท, ธุรกิจที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ , สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในแต่ละจังหวัด เป็นต้น

Database

ตัวอย่างการเขียนโครงสร้าง Site แบบฐานข้อมูล ซึ่งเป็นการเขียนที่เป็นหมวดหมู่และเข้าใจง่าย ทำให้ Google bot สามารเข้าใจ Site แบบฐานข้อมูลได้ชัด อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ที่มาเยี่ยมชมสามารถค้นหาข้อมูลได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น

5.โครงสร้าง Site แบบไซโล (Silo SEO Structure)

เป็นโครงสร้างไซต์ที่จัดกลุ่มเนื้อหาผ่าน Internal Link เพื่อให้การค้นหาครอบคลุม Keywords ที่ต้องการ และตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่จะประชาสัมพันธ์ให้มากที่สุด ซึ่งโครงสร้าง Site แบบไซโล คล้ายกับ โครงสร้าง Site แบบเชื่อมโยงอิสระ เพราะว่าการวางแผนผังโครงสร้าง จำเป็นต้องอาศัยการวางแผนงานที่รอบคอบและรัดกุม มิเช่นนั้น Google bot จะไม่เข้าใจเนื้อหาในไซต์

ส่งผลให้เนื้อหา ของคุณมีความเสี่ยงที่จะไม่ถูกเชื่อมโยงการค้นหาใน Search Engine โครงสร้าง Site แบบไซโล เหมาะกับเนื้อหาที่จำแนกข้อมูลกลุ่มหลักอย่างเป็นระเบียบ และภายในข้อมูลกลุ่มหลักที่ถูกจำแนกก็จะมีข้อมูลกลุ่มย่อย ที่มีเนื้อหาเชื่อมโยงกับข้อมูลกลุ่มหลักและเชื่อมโยงภายในข้อมูลกลุ่มย่อยด้วยกันเอง

เช่น เนื้อหาเกี่ยวกับร้านอาหารที่อยู่ย่านต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร, เนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มธุรกิจย่อยในเครือของบริษัทหลัก, และสินค้าประเภทต่าง ๆ ภายใต้แบรนด์เดียวกัน เป็นต้น

Silo SEO Structure

ตัวอย่างการเขียนโครงสร้าง Site แบบไซโล ซึ่งเป็นการวางโครงสร้างไซต์ผ่าน Internal Link ซึ่งมีการจัดวางเนื้อหากลุ่มหลัก และเนื้อหากลุ่มย่อย เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระเบียบ

มาสำรวจกันว่าธุรกิจและข้อมูลที่คุณจะนำมาทำเว็บนั้น เหมาะกับ Site  Structure ประเภทใดบ้าง?

1.สำรวจให้ได้ว่ากลุ่มเป้าหมายของเว็บไซต์คุณคือใคร

ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากเพราะถ้าคุณรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายที่คุณต้องการจะให้เข้ามาในเว็บไซต์ คือใคร มันจะมีส่วนช่วยให้การกำหนดการวาง SiteStructure ของเนื้อหาเว็บไซต์ ได้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายมากขึ้น

ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเขียนเว็บไซต์ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสินค้าและบริการกลุ่มเป้าหมายที่คุณต้องการให้เข้าถึงเว็บไซต์คือ กลุ่มวัยรุ่นทั่วไป คุณควรวางผังแบบเชื่อมโยงอิสระ ที่เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายเพียงแค่คลิกเพียงหนึ่งครั้ง ข้อมูลทุกอย่างก็จะเชื่อมเข้าหากันอย่างรวดเร็ว ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายที่เป็นวัยรุ่นทั่วไป ซึ่งกลุ่มนี้จะพฤติกรรมชอบความสะดวกรวดเร็วและการเข้าถึงข้อมูลง่ายเป็นหลัก

2.สำรวจให้ได้ว่าเว็บไซต์ ของคุณมีคำ Keyword ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหามากน้อยเพียงใด

คำ Keyword เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะสิ่งนี้จะช่วยเชื่อมโยงกับการค้นหาใน Search Engine ยิ่งคุณมีคำ Keyword มากเท่าไร ยิ่งส่งผลให้เว็บไซต์ ของคุณมีสิทธิ์ติดอันดับการค้นหาใน google มากขึ้น

  • กรณีที่คุณมีคำ Keyword ในเว็บไซต์จำนวนเยอะ คุณควรจะวาง SiteStructure แบบ ไซโล เพราะข้อโดดเด่นของผังโครงสร้างนี้จะช่วยให้ Google bot เข้าใจบทความของคุณได้ง่ายขึ้นและเชื่อมโยงทุก Keyword ในเนื้อหา ให้แสดงผลใน Search Engine มากขึ้น
  • กรณีที่คุณมีคำ Keyword ในเว็บไซต์จำนวนน้อย คุณควรจะวาง SiteStructure แบบฐานข้อมูล เพราะข้อโดดเด่นของผังโครงสร้างนี้จะช่วยให้ google bot เข้าใจข้อมูลของคุณอย่างเป็นระบบ และเชื่อมโยงกับ Search Engine ให้ข้อมูลเข้าถึงผู้เยี่ยมชมได้สะดวกมากขึ้น สาเหตุที่ไม่แนะนำให้ผู้ที่ทำ SEO มือใหม่ที่มีคำ Keyword ในเว็บไซต์น้อย วางผังแบบต้นไม้ เพราะว่าผังโครงสร้างนี้มันได้รับความนิยมเป็นจำนวนมาก มีโอกาสสูงที่เว็บไซต์ ของคุณจะไม่ติดอันดับการค้นหาใน Google

3. สำรวจการวาง SiteStructure ของคู่แข่ง ว่ามีการวางผังข้อมูลเป็นแบบไหน

พร้อมวิเคราะห์จุดโดดเด่นและจุดบกพร่องของผังข้อมูลนั้น เพื่อนำมาปรับใช้กับการวาง SiteStructure
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ยากมาก เพราะต้องใช้ความช่างสังเกตและต้องอาศัยความขยันในการเปรียบเทียบระหว่างเนื้อหาในเว็บไซต์คู่แข่งที่ทำเรื่องเดียวกับคุณ เพื่อให้คุณสามารถนำเอาจุดโดดเด่นและจุดบกพร่องของคู่แข่ง มาประยุกต์หรือปรับใช้กับเนื้อหาในเว็บไซต์ของคุณให้มีความโดดเด่นมากกว่าบทความคู่แข่งได้

ตัวอย่างเช่น ถ้าเนื้อหาในเว็บไซต์ของคู่แข่งมีการวาง SiteStructure แบบเชื่อมโยงอิสระ ที่มีความยุ่งยากมากเกินไป คุณก็สามารถเอาจุดบกพร่องของคู่แข่ง มาปรับใช้กับเว็บไซต์ของคุณโดยการวางแบบเชื่อมโยงให้มีการเข้าถึงการค้นหาได้ง่าย และ ลดทอนความยุ่งยากนั้น

สรุป การออกแบบ Site Structure

ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญในการทำ SEO เพราะสิ่งนี้จะช่วยให้ google bot สามารถเข้าใจผังโครงสร้างของไซต์ได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้เว็บไซต์ของคุณถูกเชื่อมโยงกับ Search Engine นำไปสู่การเพิ่มโอกาสในติดอันดับการค้นหาใน google ซึ่งการออกแบบ SiteStructure แต่ละโครงสร้าง มีความยากง่ายแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับเนื้อหาของคุณ

รวมถึงกลยุทธ์ในการวางเพื่อที่จะเอาชนะเว็บไซต์คู่แข่งของคุณเป็นหลัก ฉะนั้นจะเห็นว่าการออกแบบ SiteStructure มีความสำคัญอย่างมากในการทำ SEO ถ้าคุณเข้าใจหลักการทำงานของมัน สิ่งนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับการค้นหาได้มากขึ้น

Search
Categories