ช่วงปี 2021-2022 ที่ผ่านมา คุณอาจจะได้เห็นข่าวในแวดวงธุรกิจดิจิทัลที่ชื่อว่า เหรียญคริปโต (Cryptocurrency) หรือในชื่อทุกคนคุ้นชิน Bitcoin ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วงนั้นมูลค่าของเหรียญคริปโต หรือ Bitcoin มีมูลค่าสูงมาก จนมีมูลค่าหลักล้านหรือแสนต่อเหรียญเพียงเหรียญเดียว แน่นอนว่า เหรียญคริปโตหรือ Bitcoin เป็นสกุลเงินที่ถูกใช้ในแวดวงธุรกิจออนไลน์ การซื้อขายในโลกดิจิทัล ที่ทำให้สังคมเราเริ่มก้าวสู่การเป็นสังคมไร้เงินสด
แต่อย่างไรก็ดี เมื่อมูลค่าเงินในโลกดิจิทัลเริ่มมีค่ามากขึ้น เริ่มมีหลายธุรกิจให้ความสนใจในการทำธุรกิจออนไลน์ที่ใช้จ่ายสกุลเงินแบบดิจิทัลอย่างเหรียญคริปโต และการเริ่มทำธุรกิจออนไลน์ก็ได้ให้กำเนิดสิ่งที่เรียกว่า NFT หรือ Non-Fungible Token การซื้อขายในช่วงปี 2021-2022 นั้น ก็ได้สร้างมูลค่าหลักหลายล้านไว้ในโลกออนไลน์ และมีการพูดถึงกันอย่างแพร่หลายในหลายวงการ ไม่ว่าจะศิลปะ เกม จนถูกจับตามองอย่างมากในเรื่องการทำธุรกิจ
NFT คืออะไร
NFT หรือที่ย่อมาจากคำว่า Non-Fungible Token ซึ่งเป็นโทเค็นประเภทหนึ่งที่นำเทคโนโลยีอย่าง Blockchain มาใช้ ทำให้สามารถแสดงความเป็นเจ้าของในของชิ้นนั้นได้ นอกจากนี้มันยัง คือ สินทรัพย์ดิจิทัลประเภทหนึ่ง เช่นเดียวกับ คริปโตอย่าง Bitcoin และ Ethereum แต่ลักษณะโดดเด่นที่ทำให้เป็นโทเค็นดิจิทัลที่แตกต่างจากสกุลเงินดิจิทัลอย่างเหรียญคริปโต หรือ Bitcoin เลยก็คือ NFT ที่แต่ละชิ้นจะแตกต่างกัน ไม่สามารถทำซ้ำขึ้นมาได้ หรือทดแทนกันได้
คล้ายกับผลงานวาดภาพต้นฉบับที่จะมีชิ้นเดียวบนโลก หากมีการคัดลอกขึ้นมาจะสามารถระบุได้ทันทีว่าชิ้นไหนคือต้นฉบับ ด้วยเทคโนโลยี Blockchain หากให้อธิบายได้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น เปรียบเสมือนว่าหนังสือของเรามีเพียงชิ้นเดียว เล่มเดียวที่เป็นของเรา แต่หากเพื่อนยืมหนังสือไปแล้ว ก็ไม่สามารถหาหนังสือเล่มอื่นที่เหมือนกันมาคืนแทนได้ ต้องเป็นเพียงเล่มเดียวกับที่ยืมไปเท่านั้น
หลักการทำงานของ Non-Fungible Token คือ ถ้าเรามีภาพถ่าย 1 ภาพ เราสามารถนำไปลงบนแพลตฟอร์มตลาด สำหรับทำ Non-Fungible Token ฯลฯ เพื่อทำให้ไฟล์ภาพนั้นกลายเป็น Non-Fungible Token แล้วลงขายในแพลตฟอร์ม เมื่อมีคนเข้ามายังแพลตฟอร์มดังกล่าว แล้วเห็นภาพของเราจนถูกใจ อยากซื้อเป็นของตัวเอง ก็สามารถซื้อได้ด้วยสกุลเงินดิจิทัลอย่างเหรียญคริปโต (Cryptocurrency) หรือที่เรียกกันว่า Bitcoin เท่านี้ภาพนั้นจะเป็นของผู้ซื้อ และมีการระบุตัวตนชัดเจนว่าใครเป็นเจ้าของอยู่ และผลงานชิ้นนี้มีชิ้นเดียวบนโลก
NFT แตกต่างจากเหรียญคริปโตหรือ Bitcoin อย่างไร
แน่นอนว่าทั้งสองอย่างไม่ว่าจะเป็น Non-Fungible Token หรือเหรียญคริปโต ก็นับเป็นสกุลเงินดิจิทัล แต่ข้อแตกต่างที่ชัดเจนเลยก็คือ Non-Fungible Token ไม่สามารถถูกทดแทนด้วยสิ่งอื่นใด ต่างกับเหรียญคริปโตที่ทดแทนได้ ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจน เปรียบเหรียญคริปโตเป็นเหมือนเหรียญ 10 บาท เมื่อมีการยืมไปใช้งาน เราสามารถหาเหรียญ 10 บาท หรือเหรียญอื่นที่มีมูลค่า 10 บาทมาแทนได้ แต่ในขณะที่ Non-Fungible Token ไม่สามารถถูกทดแทนสิ่งอื่นได้ ตัวอย่างเช่น หากมีใครยืมจานแก้วที่เปรียบเสมือน Non-Fungible Token ไปแล้ว ต้องคืนเป็นจานแก้วอันเดิมเท่านั้น ไม่สามารถหาจานแก้วอื่นที่มีลักษณะเหมือนกันมาคืนได้ นี้จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ Non-Fungible Token ถูกจับตามองอย่างมาก เพราะมีความเป็นเอกลักษณ์ สามารถแสดงตัวตนของตัวเอง และเจ้าของได้อย่างชัดเจน
NFT ลักษณะเฉพาะที่ไม่เหมือนใคร
NFT ส่วนใหญ่กำกับด้วยเทคโนโลยีอย่าง Blockchain และถูกสร้างขึ้นบนเชนของ Ethereum ซึ่งสินทรัพย์ที่สามารถนำมาทำเป็น Non-Fungible Token ได้นั้นมีหลากหลายประเภทมาก ไม่ว่าจะเป็น ภาพถ่าย, ภาพวาด, ไฟล์เสียง, ของสะสม, การ์ดเกม, ไอเทมในเกม ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองทำให้หลายวงการหันมาสนใจในการทำ Non-Fungible Token นอกจากนี้ยังมีความเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนสกุลเงินดิจิทัลไหน ๆ อีกด้วย โดยมีลักษณะดังต่อไปนี้
- Unique
ข้อมูลต่าง ๆ ของ Non-Fungible Token ในแต่ละชิ้นจะระบุลักษณะเฉพาะเอาไว้ ซึ่งจะไม่มีทางเหมือนชิ้นไหน และไม่มีชิ้นไหนเหมือน คล้ายกับการประกาศความเป็นต้นฉบับของแต่ละชิ้น - Rare
แม้ว่าเจ้าของนักสะสมจะสามารถผลิต Non-Fungible Token ได้แบบไม่มีจำกัด แต่ส่วนใหญ่แล้วงานชิ้น Non-Fungible Token ที่มีชื่อเสียงดังจะมีการถูกกำหนดจำนวนเอาไว้แล้ว ยิ่งมีจำนวนจำกัดเท่าไร เมื่อเกิดความต้องการมากขึ้น ราคาก็จะสูงขึ้นตามเอง - Indivisible
ความเป็นเอกลักษณะโดดเด่นที่ไม่เหมือนใคร ก็คือการไม่สามารถแบ่งซื้อขายเป็นหน่วยย่อยได้ เหมือนเหล่าเหรียญคริปโต หรือ Bitcoin ต้องซื้อและครอบครองเต็มจำนวนเท่านั้น
วงการของ NFT ที่น่าจับตามอง
อย่างที่เรารู้กันดีว่าวงการนี้มีการเติบโตค่อนข้างมาก อีกทั้งยังมีอีกหลายอย่างให้จับตามอง และนี่คือตัวอย่างที่เราหยิบมาให้คุณได้ดูกัน
- วงการเกม
ถือเป็นวงการแรก ๆ ที่เข้ามาร่วมในวงการ Non-Fungible Token เนื่องจากตลาดมีความคล่องตัว และมีเทคโนโลยีรวมถึงทีมพัฒนาที่รองรับในส่วนนี้อยู่แล้ว โดยเกม Non-Fungible Token ที่เรารู้จักกันดัง ๆ เช่น เกม Axie Infinity เกม The Sandbox หรือจะเป็นเกม Illuvium ซึ่งเกมเหล่านี้จะใช้โมเดลเกม Play to Earn คือ เล่นเกมแล้วได้ผลตอบแทน ทำให้ได้รับความสนใจมากขึ้น รวมไปถึงตัวเกมแต่ละเกม จะมีการสร้าง Non-Fungible Token ของตัวเอง ซึ่งสามารถนำไปซื้อขายแลกเปลี่ยนเพื่อทำกำไรได้ - วงการแฟชั่น
ในช่วงปี 2021 ที่ผ่านมา วงการแฟชั่นก็ได้มีแบรนด์ชั้นนำมากมาย เข้าร่วมวงสร้าง Non-Fungible Token แฟชั่นขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็น Louis Vuitton ที่ได้มีการเปิดตัวเกม Louis the Game โดยภายในเกมจะให้ผู้เล่นผจญภัยเพื่อเก็บ Non-Fungible Token ได้ หรือจะเป็นทางแบรนด์ Gucci ที่ได้เปิดตัวภาพยนตร์สร้าง 4 นาทีและแปลงเป็น Non-Fungible Token ก่อนจะขายออกไปได้กว่า 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ - วงการกีฬา
มาต่อกันที่วงการกีฬา เรียกได้ว่ามีข่าวการเข้ามาร่วม Non-Fungible Token ในหลากหลายแง่มุม แต่ที่โด่งดังมาก ๆ สำหรับ Non-Fungible Token กีฬาก็คือ NBA Top Shot ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มซื้อขาย Non-Fungible Token ทุกรูปแบบที่เกี่ยวกับ NBA โดย Non-Fungible Token ชื่อดังจากแพลตฟอร์มดังกล่าวคือ เป็นวิดีโอสั้นที่ชื่อว่า Lebron James dunk นั่นเอง - วงการศิลปะ
Non-Fungible Token Art คือ งานศิลปะที่อยู่ในรูปของโทเค็น Non-Fungible Token ซึ่งรวมไปถึงงานศิลปะทุกแขนงไม่ได้จำกัดอยู่ที่ภาพวาดอย่างเดียว รวมไปถึงภาพถ่าย วิดีโอ ซึ่งปัจจุบันมีรูปราคาแพงที่สุดคือ ผลงานที่ชื่อว่า Everydays-The first 5000 Day ของศิลปินนามว่า Beeple ราคาขายตีเป็นเงินไทยราว 2,204 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีงาน NFT Art ดังอีกมากมาย ทั้ง CryptoPunk ซึ่งเป็นภาพคาแรกเตอร์ที่สร้างจากพิกเซล มีจำกัดที่ 10,000 ชิ้น หรือจะเป็น Bored Ape Yacht Club รูปลิงที่มีเอกลักษณ์
ทำไม NFT ถึงถูกจับตามองในแวดวงธุรกิจ
อย่างที่เกริ่นนำไปในตอนต้นแล้วว่าช่วงปี 2021-2022 ที่ผ่านมา การเติบโตของเหรียญคริปโต หรือที่เรียกกันว่า Bitcoin นั้นทำให้มีมูลค่าที่สูงมากในโลกออนไลน์ เมื่อเหล่าสกุลเงินดิจิทัลมีมูลค่าสูง การลงทุนให้ได้เหรียญคริปโต ก็ย่อมต้องคุ้มค่า และเป็นหนึ่งในทางเลือกที่จะได้เหล่าเงินดิจิทัลนี้มา นอกจากนี้ยังมีความเอกลักษณ์และชัดเจนในตัวเองของมัน ด้วยเทคโนโลยีอย่าง Blockchain ที่ทำให้ Non-Fungible Token เป็นเหมือนของที่มีลิขสิทธิ์ในตัว มีความสามารถการโอนซื้อขายได้ง่าย แสดงความเป็นเจ้าของได้อย่างชัดเจน อีกทั้งยังแสดงว่า Non-Fungible Token แต่ละชิ้นมีได้เพียงชิ้นเดียวบนโลก นอกจากนี้ก็มีด้วยกันหลายประเภทไม่ว่าจะเป็น ในวงการศิลปะ ภาพวาด, เกม, และแฟชั่น อย่างไรก็ดีมูลค่าของ Non-Fungible Token นั้นแปรเปลี่ยนไปตามความนิยม หรือกระแสของผู้คน เหมือนเศรษฐกิจทั่วไป แต่ต่อให้มูลค่าเปลี่ยนไปอย่างไร ในช่วงปี 2021-2022 นั้นมูลค่าของสกุลเงินดิจิทัลยังคงมีมูลค่าที่สูงอย่างมาก และการซื้อขาย Non-Fungible Token ก็ซื้อได้แค่เหล่าสกุลเงินดิจิทัล จึงทำให้ยังคงมีมูลค่าที่สูงอยู่ดี
มูลค่าของเหรียญคริปโต หรือ Bitcoin ก็มีการเปลี่ยนแปลงในขาลง ทำให้ปี 2023 นี้เหรียญมีมูลค่าที่น้อยลง และเมื่อมูลค่าเหรียญที่ลดลงไป ย่อมทำให้มูลค่าของ Non-Fungible Token ลดลงตามไปด้วยเช่นกัน ถึงกระนั้นมูลค่าของทั้งเหรียญคริปโต หรือ Bitcoin และ NFT ยังถูกจับตามองอยู่ดี เพราะถ้ามีช่วงขาลง ก็ต้องมีช่วงขาขึ้นด้วยเช่นกัน และไหนจะการมาของ Metaverse (สามารถอ่านบทความ “Metaverse คืออะไร“ ได้ที่นี่) ที่อาจจะพลิกให้วงการสกุลเงินดิจิทัลกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง ซึ่งนับว่าเป็นการลงทุน Non-Fungible Token อาจเป็นอีกหนึ่งที่ต้องพิจารณาความเสี่ยงให้ดีก็ว่าได้
ปัจจัยที่ส่งผลต่อมูลค่า NFT
เราเห็นได้ว่าผลงาน Non-Fungible Token หลาย ๆ ชิ้นมีมูลค่าสูงมาก ไม่ใช่แค่หลักล้านแต่บางชิ้นมีมูลค่าถึง ร้อยล้านพันล้านเลยทีเดียว ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาก็มีหลายปัจจัยด้วยกัน หลักคือ บุคคลที่มีชื่อเสียงมีการโพสต์บนโซเชียลถึงงานที่ถือครอง ทำให้เกิดกระแสความนิยมมากขึ้น
นอกจากนี้ที่มาของผลงานก็ทำให้ Non-Fungible Token ชิ้นนั้น ๆ มีมูลค่าเพิ่มขึ้น อย่างผลงานของ Beeple เป็นการนำภาพวาด 5,000 ชิ้นจากตลอด 13 ปีที่ผ่านมา เรียบเรียงออกมาเป็น Non-Fungible Token ภาพเดียว จำนวนที่จำกัดของชิ้นงานในคอลเลกชันก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยให้ตัวมันเองมีราคาที่สูงขึ้น อย่าง CryptoPunk ที่จำกัดอยู่ที่ 10,000 รูป หรือจะเป็น MetaWarden NFT ที่จำกัดอยู่ที่ 3,000 ชิ้น
Non-Fungible Token กับประโยชน์เฉพาะตัว
เรียกได้ว่า Non-Fungible Token เป็นตัวกลางที่มีประโยชน์ต่อตัวผู้ซื้อ และผู้ขายผลงาน เพราะนอกจากจะทำให้การซื้อขายของสะสม งานศิลปะ หรือของหายากอื่น ๆ เกิดขึ้นบนโลกดิจิทัลได้อย่างง่ายดายแล้ว ยังเป็นทางเลือกใหม่ของการลงทุนซื้อขายที่สำคัญหากมองในเรื่องต้นทุนและความปลอดภัย การเก็บรักษาแล้วนั้น การครอบครองของในรูปแบบดิจิทัล Non-Fungible Token เป็นตัวเลือกให้เหล่านักลงทุน / นักสะสมด้วยเช่นกัน เราเจาะจุดประโยชน์เฉพาะตัวของ Non-Fungible Token มาให้เห็นกันเลย
- ระบุความเป็นเจ้าของได้
อย่างที่รู้กันไปแล้วว่า Non-Fungible Token เป็นสิ่งของที่มีเทคโนโลยีอย่าง Blockchain อยู่เบื้องหลังและคอยกำกับความเป็นเจ้าของ นอกจากนี้ Non-Fungible Token 1 ชิ้น ไม่สามารถถูกแบ่งหรือแยกย่อยได้ จึงยิ่งตอกย้ำความเป็นเจ้าของเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้นอีกด้วย - ระบุความเป็นต้นฉบับและของแท้
นอกจากการแสดงความชัดเจนในเรื่องเจ้าของแล้ว Non-Fungible Token ยังแสดงให้เห็นถึงลักษณะของเพียงหนึ่งเดียวบนโลกออนไลน์ไว้ด้วยเทคโนโลยี Blockchain อีกด้วย ทำให้ Non-Fungible Token แต่ละชิ้นไม่สามารถถูกคัดลอก ทำซ้ำ หรือเปลี่ยนแปลงไปได้ - สามารถส่งต่อกันได้
ประโยชน์ข้อนี้ของ Non-Fungible Token จะเห็นได้ชัดในวงการเกม จากแต่ก่อนที่ผู้เล่นซื้อไอเทมในเกมเพื่อเสริมตัวละคร หรือเล่นภายในเกม แต่เมื่อเลิกเล่นไปแล้ว ไอเทมที่เสียเงินซื้อไปแล้วเหล่านี้ก็ไม่สามารถนำไปทำอย่างอื่นได้ แต่เมื่อนักพัฒนาเกมได้พัฒนาเกม Non-Fungible Token ขึ้น ไอเทมต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นมาก็จะอยู่ในรูปแบบ Non-Fungible Token สามารถนำไปขายต่อในตลาดเพื่อทำกำไร หรือโอนเก็บไว้ในคลังดิจิทัลของเราได้
Non-Fungible Token กับจุดอ่อนที่ผู้ครอบครองควรคำนึง
เรารู้ข้อดีของ Non-Fungible Token ไปส่วนใหญ่แล้ว ซึ่งแน่นอนว่าก็มีข้อเสียหรือข้อจำกัดบางอย่าง ซึ่งอาจจะไม่ได้มีผลอะไรมาก แต่เราก็มาดูกันดีกว่า ว่ามีอะไรบ้าง
- ไม่สามารถทดแทนสิ่งที่มีอยู่จริงได้
แน่นอนว่าการสะสมผลงานศิลปะหรือภาพวาด ส่วนใหญ่ผู้สะสมจะต้องการผลงานที่จับต้องได้ และต้องการชื่นชมผลงานของจริง แต่ Non-Fungible Token ไม่สามารถมาทดแทนในส่วนนี้ได้ ซึ่งในข้อนี้อาจจะไม่ได้ร้ายแรงมากสำหรับนักสะสมงานบางคน - คุณค่าของผลงาน
แม้ว่าข้อดีของ Non-Fungible Token คือไม่สามารถทำซ้ำ หรือคัดลอกต้นฉบับกันได้ อีกทั้งสามารถระบุได้ว่าใครเป็นเจ้าของ ในความเป็นจริงสมมุติว่าเราซื้อภาพ Non-Fungible Token มา 1 รูป เราจะได้เพียงสิทธิ์การเป็นเจ้าของ หากมีใครมาคัดลอกหรือนำรูปใช้งานบนโลกออนไลน์ก็สามารถทำได้ ดังนั้นคำถามคือ คุณค่าของงาน Non-Fungible Token คืออะไรกันล่ะ ? - ราคาที่สูงเกินไปจากการซื้อ
นอกจากค่าชิ้นงานที่ต้องจ่ายแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกิดจากการทำธุรกรรมซื้อ Non-Fungible Token อีกด้วย ซึ่งบางแพลตฟอร์มการซื้อขาย 1 ครั้ง จะต้องจ่ายเป็นหลักพันกันเลย - กฎหมายที่ยังไม่รองรับความปลอดภัย
แน่นอนว่าการซื้อขายในโลกออนไลน์ ยังคอยมีกฎหมายกำกับดูแล ถ้าในกรณีที่มีการใช้เงินจริง แต่กรณีของเงินดิจิทัล อย่างเหรียญคริปโตหรือ Bitcoin และ Non-Fungible Token นั้นยังไม่มีกฎหมายมารองรับความปลอดภัยในการซื้อขายได้ หากมีการโกงและทุจริต ย่อมไม่สามารถเอาผิดได้ในทางกฎหมาย แม้จะมีความปลอดภัยและการเก็บรักษาที่ดี แต่หากถูกนำมาใช้ในทางที่ไม่ดีแล้ว ก็ยังคงเป็นอันตรายได้เช่นกัน รวมไปถึงการแฮ็ค ID ของผู้สะสมเพื่อนำผลงานไปขายได้ด้วยเช่นกัน
สรุปได้ความง่าย ๆ ว่า Non-Fungible Token นั้นเหมือนการเก็บสะสมและการลงทุนในสินค้าตัวหนึ่ง ซึ่งมีความเสี่ยงสูงอย่างมาก ถึงอย่างงั้นนั้นความเสี่ยงนั้น ก็ยังมีความคุ้มค่าที่พอรับได้ นอกจากนี้ Non-Fungible Token ยังเป็นหนึ่งสิ่งที่นักสะสมส่วนใหญ่ต้องการ เพราะไม่ใช่แค่การสะสมเพียงอย่างเดียว ยังมีความเป็นเอกลักษณ์และแสดงความเป็นเจ้าของได้อย่างชัดเจน อีกทั้งเราสามารถนำมาซื้อขายได้เมื่อต้องการ หรือเมื่อสินค้ามีราคาสูง
แต่อย่างไรก็ดี Non-Fungible Token ก็ยังเป็นสินทรัพย์ทางดิจิทัล ถึงจะมีความปลอดภัยในแบบโลกออนไลน์ แต่ก็ยังไม่มีกฎหมายมารองรับความปลอดภัย และขอบเขตของมันอยู่ดี เพราะอย่างนั้นหากต้องการลงทุนหรือทำเกี่ยวกับ NFT คุณต้องรักในสื่อดิจิทัลอย่างแท้จริง และยอมรับความเสี่ยงนั้นได้